หน่วยที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. กำเนิดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่หมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ ฯลฯ จนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ตำบล เมือง และประเทศขึ้น การติดต่อในยุคแรกๆ เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมามีการสื่อสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่าง ๆ ซึ่งกลายมาเป็นการส่งจดหมายถึงกัน จากนั้นมีการสื่อสารกันด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ซึ่งอาศัยหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพ เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสาย หรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า คลื่นวิทยุกระจายไปในอากาศ เมื่อถึงปลายทาง สัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นจะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นเป็นคำพูดข้อความหรือภาพเหมือนกับสิ่งที่ส่งออกไปจากต้นทาง พัฒนาการของเทคโนโลยีโทรคมนาคมนี้ ทำให้คนที่อยู่คนละซีกโลกกันสามารถรับรู้ข่าวสารของกันและกันได้ภายในชั่วพริบตา เพราะอัตราความเร็วของการเดินทางของสัญญาณไฟฟ้าตามสาย หรือของคลื่นวิทยุนั้น อยู่ในระดับเดียวกับความเร็วของแสง เช่น เหตุร้ายจากการก่อวินาศกรรมโดยใช้เครื่องบินโดยสารที่ถูกจี้บังคับมาชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่นครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 11กันยายน พ.ศ. 2544 นั้น คนทั้งโลกได้เห็นเหตุการณ์สดๆ ผ่านเครือข่าย
ข่าวโทรทัศน์ของซีเอ็นเอ็น
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่า สารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุมาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์(คำนวณ ประมวลผล เปรียบเทียบ และตรวจสอบ ได้รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ) มารวมกับความสามารถของระบบโทรคมนาคม (ติดต่อได้รวดเร็วและกว้างไกล) ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศนั่นเอง
ปัจจุบันมีการใช้คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information and Communication Technology : ICT กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาบนพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งกำลังเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกด้านหนึ่ง คือ เทคโนโลยีการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารไร้สายก็กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดการใช้งาน ในรูปแบบใหม่ ๆ มากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง เช่น การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ m-Shopping (การซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-Banking (การสั่งจ่ายเงินหรือโอนเงินจากธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ) m-commerce (ธุรกิจผ่านมือถือ) เป็นต้น นอกจากนี้บริการสอบถามและแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์ซึ่งใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ที่เรียกว่าศูนย์ให้บริการ (Call Center)เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของพัฒนาการใหม่ด้านการสื่อสาร ในกรณีของ Call Center แม้ว่าจะต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ติดตั้งอยู่ทางด้านผู้ให้บริการ แต่ทางด้านผู้รับบริการใช้เพียงโทรศัพท์ ก็สามารถรับบริการได้ ซึ่งแตกต่างจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้บริการต้องมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ในอนาคตไม่ไกลนัก เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารมีแนวโน้มจะรวมเข้าด้วยกัน ดังจะเห็นได้จากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่สามารถรับส่งอีเมล์ได้ คอมพิวเตอร์พกพาบางรุ่นก็สามารถใช้เป็นโทรศัพท์มือถือได้ด้วย วิธีการผสมผสานเทคโนโลยีทั้งสองด้านนี้ เรียกว่า คอนเวอร์เจนซ์ (Convergence)
2 ประวัติโดยย่อของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
จากที่กล่าวมาแล้วว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้านคือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งแต่ละด้านมีประวัติหรือพัฒนาการ ดังนี้
เทคโนโลยีโทรคมนาคม
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปี พ.ศ. 2419 อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell)ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ และได้ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกที่เมืองนิวเฮเวน รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา จากนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ได้ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ นับเป็นพัฒนาการอันยิ่งใหญ่ ด้านเทคโนโลยีเครือข่ายโทรคมนาคม
ด้านการสื่อสารไร้สาย ได้มีการพัฒนาการค้นพบคลื่นวิทยุในปี พ.ศ. 2430 โดย ไฮน์ริช แฮตน์ (เฮิร์ต) (Heinrich Hertz) และต่อมาปี พ.ศ. 2437 กูกลิเอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi) สามารถประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกได้สำเร็จ จากนั้นได้มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
ในปี พ.ศ. 2477-2479 จอห์น เฟลมมิง (John Flemming) และ ลี เดอ ฟอเรสต์ (Lee De Forest) ได้ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
ในปี พ.ศ. 2497 วลาดิเมียร์ สวอริคิน (Vladimir Zworykin) ได้ประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ซึ่งเป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2490 ชอกลีย์ บาร์ดีน และ แบรตเทน (Schockley, Bardeen and Brattain) ได้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์
ในปี พ.ศ. 2500 คิลบี และ นอยส์ (Jack Kilby, Robert Noyce) ได้ประดิษฐ์วงจรรวมหรือไอซี ซึ่ง เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก
ในปี พ.ศ. 2504 บริษัทเอทีแอนด์ที ได้สร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์ 1 เป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 1 พ.ศ. 2489 – 2501
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่าENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer)ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
ใช้อุปกรณ์หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
ยุคที่ 2 พ.ศ. 2502 – 2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 – 2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปีเนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
ยุคที่ 4 พ.ศ. 2513 – 2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI)ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)
ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 – ปัจจุบัน
ในยุคนี้มุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และความสะดวกสบายในการใช้งานอย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
กับโปรแกรม เป็นต้น
3 ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบคำ 2 คำ ได้แก่ เทคโนโลยี และ สารสนเทศ ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้ เทคโนโลยี (Technology) เป็นคำที่มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า TEXERE มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า to weave แปลว่า สาน เรียบเรียง ถักทอ ปะติดปะต่อ และ construct แปลว่า สร้าง ผูกเรื่อง ความรู้สึกนึกคิดที่ก่อให้เกิด ส่วนเทคโนโลยี ในรากศัพท์ภาษากรีกมาจากคำว่า technologia แปลว่า การทำงานอย่างเป็นระบบ (systematic treatment) (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2539)
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Good, 1973) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง การนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในวงการต่าง ๆ โดยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เอดการ์ เดล (Dale, 1965) กล่าวว่า เทคโนโลยีไม่ใช่เครื่องมือแต่เป็นแผนการ วิธีการทำงานอย่างเป็นระบบที่ให้ผลบรรลุตามแผนการ
ไฮนิช และ คนอื่น ๆ (Heinech and Others, 1989) ได้อธิบายว่าเทคโนโลยีจำแนกออกเป็น 3ลักษณะ คือ
1) เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ(process) เป็นการใช้วิทยาศาสตร์และความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อและนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
2) เทคโนโลยีลักษณะของผลผลิต (product and product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี เช่น ฟิล์มภาพยนตร์เป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่นเดียวกับเครื่องฉายภาพยนตร์ หรือหนังสือเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีเช่นเดียวกับแท่นพิมพ์หนังสือ เป็นต้น
3) เทคโนโลยีลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) ซึ่งใช้ร่วมกันสองลักษณะ เช่น เทคโนโลยีช่วยให้ระบบการรับส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นผลจากความก้าวหน้าของการประดิษฐ์วัสดุอุปกรณ์เพื่อการรับส่งข้อมูล ตลอดจนเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ระบบส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วและในลักษณะของกระบวนการซึ่งไม่สามารถแยกออกจากผลผลิตได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์กันระหว่างตัวเครื่อง
ทัศนะเกี่ยวกับเทคโนโลยี
จากความหมายของเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้วทำให้นักการศึกษามีทัศนะหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีแตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ทัศนะคือ
1.ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (science technology) มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานสาขาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทั่วไปวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ (tools technology)
2.ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้น
1.ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (science technology) มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ให้เจริญก้าวหน้าด้วยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานสาขาต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทั่วไปวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีมีองค์ประกอบสำคัญคือ เครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้นักการศึกษาให้ความเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ (tools technology)
2.ทัศนะด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral technology) เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นกระบวนการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการผสมผสานความรู้จากศาสตร์หลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกัน เช่น มนุษยศาสตร์ จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการเรียนการสอน ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสำคัญของแต่ละงาน ในบางสถานการณ์อาจนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน แต่เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนเท่านั้น
เขียนโดย เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู ที่ 21:00
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น